ค้นหาร้านค้า / Search Shop

ค้นหาเครื่องราง / Search Item

ติดตามพัสดุ

แบนเนอร์โฆษณา

พระแก้วหินแกะล้านนา


พรมารดา อมูเลท
0812879235
kai6518
ศราพงค์ วงค์น้ำ

พระแก้วหินแกะล้านนา
ติดต่อร้าน

พระสังกัจจายน์หินจุยเจียแกะล้านนา ไม่ระบุว่าขึ้นที่กรุไหน พระสวยสมบูรณ์ ตำนานพระแก้วเมืองเหนือว่ากันไว้ถึงความชุ่มเย็น หากใครได้บูชา 

พระแก้วที่ขุดค้นพบจากกรุตามเมืองในภาคเหนือและภาคกลาง มีแหล่งที่พบมากที่สุดคือ เมืองเชียงใหม่ เชียงราย และอยุธยา พระแก้วไม่ได้หล่อหรือทำขึ้นจากแก้วธรรมดาตามเข้าใจกัน เป็นแร่หินรัตนชาติแท้ๆ มีสีเขียว สีขาว และสีเหลือง แร่หินที่คนทั่วไปเรียกว่าแก้วผลึกนี้คือ พลอยหินเนื้ออ่อนประเภทเปลือกหยก หินเขี้ยวหนุมาน หินเนื้ออ่อนสีเหลืองนี้จัดอยู่ในตระกูลหินบุษราคัม มีสีเหลืองใสวาวและสีเหลืองน้ำผึ้ง ในสมัยเชียงแสนและเชียงใหม่นิยมสร้างพระแก้วมากที่สุด ที่พบมากจะมีสีขาวและสีเหลือง พระแก้วสีเหลืองนี้เรียกว่าบุศน้ำทองนั้นเอง พระแก้วสีขาวเรียกว่าเพชรน้ำค้าง สันนิษฐานว่าพระแก้วมีการสร้างทำและสืบทอดมาจากเขตล้านนาตอนบนลงมาจนถึงเมืองเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. ๒๕๐๒ - ๒๕๐๓ กรมศิลปากรได้ขุดค้นพระเจดีย์ทุกวัดในเมืองฮอดเพื่อนำพระพุทธรูปและโบราณวัตถุทั้งหมดที่ขุดพบมาเก็บไว้ เนื่องจากการสร้างเขื่อนภูมิพลเสร็จ น้ำจะท่วมเมืองฮอดทั้งหมด มนครั้งนั้นทางการได้ขุดพบพระแก้วมากที่สุดและเป็นการขุดค้นพบพระแก้วครั้งใหญ่ที่สุดจะไม่มีการขุดพบพระแก้วมากมายเช่นนี้อีก มีประชาชนให้ความสนใจเดินทางไปดูเป็นจำนวนมาก แร่หินสีเหลืองที่นำมาสร้างพระแก้วนี้เข้าใจว่าจะนำมาจากประเทศลังกาและจีน หินเขี้ยวหนุมานที่พบมากในประเทศไทยแต่เป็นแท่งหินขนาดเล็ก ขนาดใหญ่คงนำเข้ามาจากประเทศจีน เมืองเจียงซูมิ หินเขี้ยวหนุมานเนื้อดีน้ำงามที่สุดที่เรียกว่า จุ๊ยเจีย ประกายแห่งพลัง คนจีนโบราณถือกันว่าแก้วขางจุ๊ยเจียป้องกันสิ่งชั่งร้ายต่อต้านอาถรรพณ์ต่างๆได้ด้วย พระแก้วของกรุเมืองฮอดที่ขุดได้การกรุเจดีย์ตามวัดหลายแห่งในเขตอำเภอฮอด ที่พบมากจะมีพระแก้วเนื้อสีขาวและสีเหลืองที่ทางการได้ขุดรวบรวมไว้รวมทั้งชาวบ้านได้ขุดค้นกันในระยะต่อมามีจำนวนมากพอสมควร มีขนาดใหญ่สุดมีขนาดหน้าตัก ๓ นิ้วเศษ ขนาดเล็กสุด ๐.๕ นิ้ว พระแก้วของกรุเมืองฮอดที่ยังพอมีให้เห็นอยู่ในวงการพระเครื่องขณะนี้ เป็นงานสร้างศิลปะด้วยวัตถุที่มีค่าที่น่าศึกษาและควรเก็นอนุรักษ์ไว้ เพราะเป็นงานแกะที่ทำด้วยฝีมือของสกุลช่างเมืองฮอดแท้ๆ การสร้างพระแก้วต้องใช้ทักษะและความสามารถในการวางรูปแบบที่สูงมาก เป็นการสร้างที่มำยากกว่าการหล่อพระพุทธรูปหรือทำพระเครื่องด้วยดินเผามาก พระแก้วของกรุเมืองฮอดเข้าใจว่าช่างแกะมีด้วยกันหลายคนเพราะแต่ละองค์มีฝีมือต่างกัน บางองค์มีฝีมือทำได้งดงามมาก มีปางสมาธิ และปางมารวิชัย ปางยืนก็มีบ้าง แต่ละองค์มีรูปแบบในศิลปะเชียงแสนมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ - ๒๒ อันเป็นยุตทองของเชียงใหม่ ที่พระพุทธศาสนาแบบลังกาวงค์กำลังเจริญรุ่งเรืองในเมืองเชียงใหม่ นอกจากพระแก้วที่ขุดพบแล้วยังพบพระเจดีย์แก้วบรรจุพระบรมธาตุอีกหลายองค์รวมทั้งรูปสัตว์ เช่น ช้าง กวางหมอบ นกคุ้ม และภาชนะเครื่องใช้สอยจำลองขนาดเล็กอีกจำนวนมาก ข้าพเจ้ายังหาคำตอบไม่ได้ว่าชุมชนโบราณที่เมืองฮอดในขณะนั้น นิยมสร้างแต่พระแก้วรวมทั้งเครื่องใช้สอยจำลองอันเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาขึ้นมาเป็นจำนวนมากด้วยความศรัทธาต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยที่เมืองโบราณแห่งอื่นจะพบกรุพระแก้วเพียงแห่งละองค์เท่านั้น เข้าใจว่าจะเป็นพระแก้วของเจ้านายหรือบุคคลชั้นสูงสร้างขึ้นเพื่อเป็นพระชัยวัฒน์ประจำตัว หรือสร้างทำขึ้นในพิธีบวงสรวงสถานที่สำคัญ พระแก้วกรุเมืองฮอดจะพบในหลายวัดด้วยกันเช่น วัดหลวงฮอด วัดศรีโขง วัดเจดีย์สูง วัดดอกเงิน และวัดสันหนอง ฯลฯ แต่กล่าวโดยรวมได้ว่าที่กรุวัดศรีโขงเป็นกรุที่พบพระแก้วมากที่สุด เพราะเป็นกรุใหญ่มาก เมืองฮอดเป็นเมืองโบราณของอาณาจักรล้านนา (ในปัจจุบันเป็นอำเภอฮอด) ตัวเมืองเก่าตั้งอยู่ที่บ้านวังลุง พงศาวดารโยนกชี้ว่าเมืองนี้คือท่าเชียงทอง ศูนย์กลางของเมืองคลอยู่ที่วัดหลวงฮอด ในอดีตพระนางจามเทวีได้นำไพร่พลขึ้นมาสร้างเมืองลำพูน ได้แวะพักที่ริมฝั่งแม่น้ำปิงก่อน ได้สถานที่แห่งนี้เป็นทำเลดี จึงได้สร้างเมืองขึ้นชื่อเมืองฮอดในปี พ.ศ. ๑๒๐๓ ได้สร้างพระเจดีย์บรรจุพระบรมธาตุไว้บนยอดเขาลูกหนึ่งชื่อดอยเกิ้ง (ดอยฉัตร) และได้สร้างวัดรวม ๙๙ วัด วัดพระเจ้าโท้ วัดเก่าสร้างในสมัยจามเทวี นอกจากนั้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๓ มีผู้ขุดพบพระรอดบังภัยมีลักษณะงดงามไม่แพ้พระรอดวัดมหาวัน พระรอดบังภัยมีศิลปะแบบปาละ เทียบได้กับพระบางวัดดอนแก้ว ลำพูน มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗ บ่งชี้ถึงศิลปะเมืองฮอดก็เก่าถึงสมัยหริภุญไชย จากหลักฐานในเครื่องถ้วยจันสมัยราชวงค์เหม็ง หลายชิ้นที่ขุดพบในวัดเจดีย์สูงบอกชื่อจักรพรรดิ์สี่จง ตรงกับ พ.ศ. ๒๐๖๕ - ๒๑๑๐ เครื่องถ้วยจีนชิ้นที่เก่าที่สุด พบที่วัดศรีโขงมีอายุตรงกับสมัยจักรพรรดิ์สี่จง ปัศักราชซ้สนเต็ก ตรงกับปี พ.ศ. ๑๙๑๙ -๑๙๗๘ การได้พบสิ่งของอื่นๆและเครื่องใช้สอยต่างๆ อีกจำนวนมากมายอายุตรงกับสมัยพระเจ้าสามฝั่งแกนเป็นเวลาที่สมัยเชียงใหม่กำลังรุ่งเรือง ทำให้รู้ว่าเมืองฮอดยังคงเป็นเมืองท่าเชียงทองอยู่ เมืองท่าของชุมชนใหญ่แห่งนี้ เป็นเมืองท่าค้าขายหรือผ่านพักของกลุ่มพ่อค้าก่อนที่จะนำสินค้าไปเมืองเชียงใหม่เชียงรายและพะเยา เมืองฮอดได้ดำรงฐานะเป็นสังคมเมืองต่อมาอีกเป็นเวลายาวนาน เมื่อสี่สิบปีก่อน ข้าพเจ้าได้ทันเห็นการรื้อโบราณสถานและขุดค้นรวบรวมศิลปะวัตถุของทางการครั้งนั้นด้วย เมื่อสายน้ำจากเขื่อนใหญ่ท่วมเข้ามาทำให้ชุมชนเมืองฮอดรวมทั้งศาสนสถานอันทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ต้องล่มสลาย ทำให้ศิลปะและงานฝีมือของเมืองฮอดถูกลืมเลือนของผู้คนในยุคนี้

25000 ส่ง kerry ครับ

0812879235

ส, 11 ก.ค. 2563, 13:07
1,342 ราย

Copyright Lanna Amulet All right reserved. © สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมายโดย บริษัท ล้านนา อมูเล็ต จำกัด.