#จากการสัมภาษณ์คุณรุ่งชัย ชัยวงศ์ (12 พฤศจิกายน 2552) นักค้าเครื่องรางชายขอบแม่ฮ่องสอนเธอเล่าว่า อินทรี ถ้าส่วนมากเป็นของพม่า ไทใหญ่พบน้อยมาก เท่าที่เล่าสืบกันมาเครื่องรางประเภทนี้จะแยกได้เป็น 2 แบบ คือ แบบธรรมดาเรียบเรียบๆ ไม่มีลวดลายใดๆ ใช้เป็นถ้วยยา ส่วนที่มีรูปแบบพิเศษ เช่น แกะเป็นรูปยักษ์ หนุมาน หรืออื่นๆ เป็นของคนที่มีวิชาอาคม เป็นหมอผีคงแก่อาคม สามารถสะกดวิญญาณแรงร้ายนั้นได้ ส่วนการเลือกวัสดุนั้น ต้องใช้สัตว์ที่พิเศษกว่าตัวอื่นๆ เช่น เสือกินคน ลิงข่าม หรือลิงที่ยิงเท่าไรก็ไม่ถูก หรือสัตว์ที่หมอคุณเลือกแล้วว่าดี เมื่อได้กะโหลกมาแล้ว ตัดให้ได้รูป ถ้าจะแกะหรือพอกรักเป็นรูปต่างๆ ต้องทำในพระอุโบสถ ทำให้เสร็จช่วงระยะเวลาหนึ่งประมาณ 10 นาที เกินจากนั้นจะใช้ไม่ได้ เสร็จแล้วนำมาปิดทอง วัสดุหายากอย่างกะโหลกเสือ มักจะเป็นของเจ้าของนาย ที่สำคัญสุด คือ กะโหลกคน อันนี้กำหนดเจาะจงเฉพาะคนตายฟ้าผ่า หรือตายโหง ชิ้นที่เป็นกะโหลกคนผู้สร้างและผู้ใช้งานต้องมีอาคมขลังจริงๆ คือสามารถสะกดวิญญาณได้ เมื่อทำได้สำเร็จก็ใช้งานตามความปรารถนาของเจ้าของเช่น เรียกผัวเรียกเมีย ป้องกันภัย เตือนภัย บอกเหตุร้าย ใช้ไปบอกกล่าว อย่างการทวงหนี้ ถ้ามีไว้ประจำเรือนจะทำให้คนในเรือนนั้นอยู่เย็นเป็นสุข ไม่ผิดเถียงกัน หรือเป็นหมอดูทำนายทายทักจะแม่นมาก ส่วนการเลี้ยงนั้นให้ข้าวน้ำ เหมือนจัดให้คนได้กิน
โดย ผศ. วิลักษณ์ ศรีป่าซาง ปราชญ์/พ่อครูแห่งล้านนา