ผ้ายันต์สิหิงค์หลวงผ้ายันต์ที่ถือเป็นจักรพรรดิ์เเห่งผ้ายันต์ล้านนา ถือเป็นของที่ล้ำค่าจะมีได้ในชนชั้นมั่งคั่งในอดีตครับ เชื่อว่าช่วยส่งเสริมความเจริญโชคลาภวาสนาต่างๆและยังช่วยป้องกันภัยได้ทุกๆด้านอีกด้วย
'' ผ้ายันต์พระสิหิงค์หลวง เขียนมือหมึกสักลงสีเก่า สุดยอดผ้ายันต์ในแดนล้านนาของเราชาวเหนือบันทึกโดย พ่อครูศรีเลา เกษพรหม สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่มที่ ๘ ได้กล่าวไว้ว่า สมัยโบราณเมื่อมีการหล่อ ปั้น หรือแกะสลักพระพุทธรูปด้วยไม้แล้ว จะนำไปกระทำพิธีแล้วถวายไว้บูชาไว้ที่วัด เพราะถือว่าที่อยู่ของพระพุทธรูปคือที่วัด จะไม่เก็บองค์พระพุทธรูปไว้บูชาที่บ้านเหมือนกับปัจจุบัน ถ้าใครเก็บไว้ที่บ้านถือว่าไม่ถูกต้อง ว่ากันว่าเป็นพระบ้านไปเสีย บนหิ้งพระในบ้านจะมีคำไหว้พระ คำไหว้พระธาตุ รูปเขียนเจดีย์ที่สำคัญหรือรูปเขียนสีพระพุทธรูปนั้น อย่างกับพระพุทธรูปที่ชื่อว่าพระสิหิงค์ '' '' ผู้ที่เป็นชายหัวหน้าครอบครัวก็จะเรียนเอาคำไหว้พระสิงห์ หรือคาถาพระสิงห์ คือคาถาปฐมัง ไว้ไหว้ทุกค่ำเช้า และบุคคลที่มีความรู้ในด้านคาถาอาคม มีความรู้ด้านขีดเขียน ก็จะเขียนรูปพระสิหิงค์บนแผ่นผ้า พร้อมทั้งเขียนภาพพระสาวกบางองค์ เขียนรูปท้าวจตุโลกบาล เขียนรูปช้างม้าลงไปด้วยและเขียนคาถาปัฐมัง คาถานวภา คาถาทุกขันเต เป็นต้น ลงบนแผ่ผ้านั้นๆ และเขียนแผ่นผ้านั้นว่า “ขบวนพระสิหิงค์ ” '' การทำผ้ายันต์พระสิหิงค์แต่ละผืนนั้นต้องใช้เวลาและความพยายามสูงเพราะมีวิธีการทำที่ยุ่งยากพอสมควร ดังนั้นจึงเชื่อว่า ผู้ใดมีผ้ายันต์พระสิหิงค์ไว้ในครอบคลองจะมีประโยชน์มากมายกับชีวิต วิธีใช้ผ้ายันต์พระสิหิงค์ ใช้ได้ ๑,๐๐๐ ช่อง คือใช้ได้นานับปาการ เลยที่เดียว ยกตัวอย่างเช่น หากจะบูชาไว้ป้องกันขึดเขิง คืออุบาทว์ทั้งหลายทั้งปวง ให้ว่าด้วย “อิติปิโส ภควา ข้าขออาราธนาพระพุทธเจ้ากับเจ้าแม่ธรณีทั้ง ๘ ทิศข้าก็ขอถวายตั้งจิตและสันดาน ที่สถานที่ ที่หย้าว ที่เรือน ขออย่ามีอุบาทว์จังไร มีทั้งประตูไม้ใผ่ ที่ใต้ถุน ที่ลุ่ม ที่เข็ญ ที่กับผะนัง ไม้หักไม้โค่น ทับที่ทับแดน แลนแล่นขึ้นเรือน งูเหลือมเลื้อยขึ้นชาน ช้างเถื่อนเข้าบ้าน เข้าสารออกงอกใบ เห็ดขึ้นกลางเตาไฟ มดปลวกรังแทงขึ้นใต้ถุนพื้นที่นอน วัวเปนสีจักเขาหักเขาคลอน นอนกรนนอนครางดังเหมือนดั่งเสียงฆ้อง เรือร้องดังเสียงกลอง กล้วยออกปลีทังข้างกลายเป็นดอกบัว ผีไห้ผีโห่ตัวสั่นถ่วาถ่วา ขันสำฤทธิ์ห้าวแตกเหมือนดาวกระจาย แมงมุมตีอก หนูกุกในเรือน นกเค้านกแขกมาแถกหลังคา ข้าพเจ้าจิ่งเอาน้ำเขาสูตรมาผะผายช้างม้าโยยาท่านหากกลัวเรา เป็นต้น กรรมวิธีการทำผ้ายันต์พระสิหิงค์นั้นละเอียดมากตั้งแต่การหาผ้าที่จะใช้ในการเขียนและสีที่จะนำมาทาลงบนภาพในผ้ายันต์ และพระคาถาที่จะใช้เขียนลงในผ้ายันต์ ทุกขั้นตอนละเอียดมาก ขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 1 เมตร โดยประมานครับ ผืนนี้อายุเกินกว่า 100 ปี สมบูรณ์สุดๆครับ ขอขอบพระคุณข้อมูล พ่อครูศรีเลา เกษพรหม สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่มที่ ๘ ท่านอาจารย์วิลักษณ์ศรีป่าซาง เป็นอย่างสูงครับ
ผ้ายันต์สิหิงค์หลวงและข้อมูล ที่ พิพิธภัณฑ์ถิ่นล้านนา เชียงใหม่ https://www.youtube.com/watch?v=k_g6EHzkGsE |